วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

# 1 Another MCU & Blink LED

# Micro Controller

DEV-PIC32-001-V3


ที่มา : Datasheet DEV-PIC32-001-V3 

เป็นบอร์ด MCU ที่ใช้ PIC32 เบอร์ PIC32MX460F512L เป็นตัวประมวลผลการทำงานหลัก อีกทั้งยังมีส่วนต่อขยายเพิ่มเติมหลายส่วน เช่น

ส่วนต่อขยาย


  1. Connector สำหรับต่อกับจอ TFT รุ่น LQ043T3DX0C-M-V1
  2. USB Device Connector สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ผ่าน Port USB
  3. USB Host Connector สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ USB Device
  4. LAN Port สำหรับเชื่อมต่อกับระบบ LAN
  5. SD Card Socket สำหรับเชื่อมต่อกับหน่อยความจำ
  6. I/O Port สำหรับใช้งานทั่วไป
  7. Touch Screen Connect สำหรับเชื่อมต่อกับ Touch Screen แบบ Resistive 4-wire
  8. ICD2 Connector สำหรับ Debug/Program

ข้อมูลเบื้องต้นของบอร์ด PIC32MX460F512L

  1. แรงดันไฟเลี้ยงที่สามารถใช้ได้
    - J1 connector 7-9 Vdc
    - CN10 connector 5 V
  2. toolchain + IDE ที่สามารถใช้ได้
    - MPLABX IDE
    - PICkit2
  3. ขา I/O สามารถจ่ายกระแสได้สูงสุด 18 mA
  4. มีขา SPI จำนวน 2 ชุด
  5. มีขา I2C จำนวน 2 ชุด
  6. มี UART จำนวน 2 ชุด
  7. มีขา ADC ที่เป็น input จำนวน 16 ขา (AN0 - AN15) และมีขนาด resolution 16-bit
  8. ความถี่ภายใน 8 MHz และ 32 KHz
  9. ความถี่ภายนอก crystal oscillator 3 MHz - 25 MHz
  10. ความถี่สูงสุด CPU core 80 MHz

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง Blink LED

  1. คอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานซอฟต์แวร์
  2. Microcontroller PIC32MX460F512L
  3. PX200 OEM-PICkit2 programmer

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทดลอง

  1. MPLAB X IDE
  2. PICkit2

ขั้นตอนการทดลอง

  1. ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ต้องการใช้
  2. ต่ออุปกรณ์ PICkit2 กับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB (ใช้ไฟเลี้ยงจากพอร์ต USB) และต่ออุปกรณ์ PIC32 กับ PICkit2 เข้าด้วยกันผ่าน ICD2 Connector ดังรูป
  3. การใช้งานโปรแกรม MPLAB X IDE และ PICkit2

    เมื่อเปิดโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างดังรูป


    สร้างโปรเจคใหม่เลือก File -> New Project -> Microchip Embedded -> Standalone Project -> Next


    เลือก Select Device -> Family: 32-bit MCUs (PIC32) -> Device: PIC32MX460F512L -> Next


    เลือก Tools ให้ตรงกับที่ใช้


    Select Compiler
    Select Project Name and Floder


    เมื่อสร้าง project เสร็จจะได้ไฟล์ต่างๆ ดังภาพ


    ส้รางไฟล์สำหรับเขียนโค้ด ในที่นี้ใช้ภาษาซี
    Source Files -> New -> C Main File...


    ตั้งชื่อไฟล์ที่จะใช้เขียนโค้ด blink (ภาษาซี)


    เขียนโค้ดให้ LED กระพริบ จากนั้นทำการ Build file ให้เป็น .hex เพื่อนำไปใช้ในการโปรแกรม


    นำไฟล์ .hex ที่ได้มาโปรแกรมด้วย PICkit2
    File -> Import Hex -> "ไฟล์.hex ที่ต้องการโปรแกรม"

ผลการทดลอง

  • รูปแสดงความถี่ของสัญญาณการติดดับของ LED
ความถี่ = 2 MHz, Vmax = 3.40 V

ความถี่ = 3.65 Hz, Vmax = 3.32 V 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น